|
กระดานข่าว
ตั้งกระทู้ใหม่ที่นี่
|
สารพันสาละ
(Reader :
12534 ) |
ภาพจากพี่ยัยบี๋ |
Posted by :
ง่วงจัง |
วัน/เวลา :
25/5/2549 7:29:24 |
|
น้องแขจ๋า...เวปนี้น้องแขทำเหรอคะ...เก่งจังเลยค่ะ...มีอะไรตะบอก...ต้นสาละที่น้องแขนำมาให้ดูนั้นเป้นสาละลังกา..หรือที่เรียกว่า"Cannon Ball" คนลละต้นกับต้นสาละอินเดีย หรือ " Sal Tree " ซึ่งเป็นไม้ในตระกูลรังหรือ เต็งค่ะ ส่วนมากคนมักเข้าใจกันผิดๆเสมอมาว่าต้นสาละลังกานี้คือต้นไม้ที่เกี่ยวเนื่องในพุทธศาสนา ทั้งนี้เพราะมีผู้นำสาละลังกามาปลูกในวัดเนื่องจากดอกสวย แล้วเข้าใจผิดว่าเป็นต้นเดียวกับสาละอินเดีย
สาละอินเดียหาถ่ายรูปได้ที่นี่ค่ะ
ที่สำนักพิพิธภัณฑ์และวัฒนธรรมการเกษตร ภายในรั้วมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) วิทยาเขตบางเขน กรุงเทพฯ พี่เลเตกำลังเขียนเรื่องความสับสนระหว่างสาละทั้ง2ชนิดนี้อยู่เหมือนกันแต่ยังไม่เสร็จเลย...เพราะยังไม่มีเวลาไปถ่ายรูปจ้า...
ไปขอความรู้พี่สเลเตมาได้ดังนี้ค่ะ |
Posted by :
ไขแข |
วัน/เวลา
:
25/5/2549 7:51:23 |
|
|
|
ดีจัง..ไว้ขอบทความของคุณสเลเตมาโพสด้วยเลยจะได้เข้าใจกันให้ถูกต้อง เราก็ต้องเข้าใจผิดกันเป็นธรรมดานะ ที่วัดปลูกไว้อย่างเป็นความสำคัญใครๆก็ต้องคิดว่านี่เป็นสาละต้นไม้ในพุทธประวัติ ถือเป็นโอกาสดีร่วมด้วยช่วยกันเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจตรงนี้นะคะ ส่วนพี่ก็หาดูอยู่นะว่าดอกสาละจริงๆหน้าตาเป็นแบบไหนบทความอื่นๆที่อ่านก็บอกว่าเป็นคนละต้นแต่ดอกที่เผยแพร่อยู่ก็มีแต่ดอกแบบนี้ทั้งนั้น หรือเรายังหาไม่เจอ ส่วนรูปที่โพสเราก็เขียนกำกับว่าเป็นสาละลังกาดีไหม ถ้าได้ดอกจริงๆมาก็ได้เป็นที่เปรียบเทียบก็เป็นปัจจัยเอื้อให้เห็นภาพชัดเจนและดอกสาละลังกาก็สวยพิเศษมากเป็นต้นไม้ที่น่ารู้จักน่าประทับใจประดับไว้เป็นสาละ-สาระ ที่ ศาลา-สาละ ..หุหุ ทำเรื่องให้เป็นเรื่องเป็นเรื่องถนัด..
อนุโมทนาคุณสเลเต |
Posted by :
ป่ามืด |
วัน/เวลา
:
25/5/2549 9:13:24 |
|
|
|
สาธุ ขออนุโมทนาในจิตอันเป็นกุศลของท่าน...ทำเวปมีทั้งสาระ และดูงดงามยิ่ง ครับ |
Posted by :
พันสิงห์ |
วัน/เวลา
:
25/5/2549 11:00:42 |
|
|
|
Sal forests |
Posted by :
ป่ามืด |
วัน/เวลา
:
25/5/2549 11:48:51 |
|
|
|
พี่เลเตอ่านหน้าภาษาอังกฤษก่อน...แล้วค่อยมาอ่านหน้าไทยค่ะ....ตอนแรกยังนึกเลยว่าใครนะแปลเก่งจัง...ที่แท้ก็น้องเล็กตัวโตคนเก่งคนนี้เอง...ดีค่ะเป็นเวปที่ดีมีประโยชน์มาก....อยากได้ข้อมูลอะไรเยวกับต้นไม้ก็บอกมานะคะ...อ้อ...ที่คนมักเข้าจผิดว่าสาละลังกาน้นเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติเพราะ...คนที่ศรีลังกานิยมนำดอกสาละมาบูชาพระหรือนำไหว้องค์พระธาตุค่ะ คนไทยไปเห็นเลยเข้าใจผิด แต่ก็นับได้ว่าเป็นต้นไม้ที่เกี่ยวเนื่องในศาสนาได้เหมือนกันล่ะค่ะเพียงแต่ต้องอธิบายให้เข้าใจว่าไม่ได้เกี่ยวเนื่องในพุทธประวัตินะคะ..
พี่สเลเตให้ความรู้เพิ่มเติมค่ะ... |
Posted by :
rebel |
วัน/เวลา
:
25/5/2549 15:29:45 |
|
|
|
ได้จ้าน้องแข...ไว้ลงตีพิมพ์แล้วจะให้ไปโพสต์นะคะ...ส่วนต้นและดอก...ถ้ารีบไปถ่ายรูปตอนนี้น่าจะทัน เพราะดอกออกช่วงนี้พอดีค่ะ...พี่เลเตก็ว่าจะไปถ่ายรูปอยู่เช่นกัน...ฝากบอกพี่ป่ามืดด้วยนะคะว่า...ให้ระบุไปเลยค่ะว่าดอกที่เห็นเป็นดอกสาละลังกา...จะได้ไม่เข้าใจผิดกัน แล้วไงพี่เลเตจะให้บทความไปลงนะคะ..รอตีพิมพ์ก่อนในนิตยสารนะคะ...ไม่งั้นทางบ.ก.เค้าไม่ยอมค่ะ...ถ้าหารูปไม่ได้จริงๆ...เลเตจะไปถ่ายรูปมาเผื่อให้ค่ะ
พี่เลเตใจดีจังเลยค่ะ |
Posted by :
rebel |
วัน/เวลา
:
25/5/2549 15:46:42 |
|
|
|
สาธุๆๆๆ ใจดีน่ารักมาก
แวะมาเยี่ยมกันบ่อยๆน๊า |
Posted by :
ป่ามืด |
วัน/เวลา
:
25/5/2549 19:08:13 |
|
|
|
ได้ดอกนี้มา ไว้รอดูว่าจะเหมือนป่าว |
Posted by :
ป่ามืด |
วัน/เวลา
:
25/5/2549 19:13:53 |
|
|
|
ป่าสาละที่อินเดีย |
Posted by :
ป่ามืด |
วัน/เวลา
:
25/5/2549 19:18:18 |
|
|
|
กะลังจะไปตามหา สาระ-สาละ
แล้วก็นึกขึ้นได้ ว่าเราไม่รู้ว่ามันหน้าตาเป็นฉันใด
.... |
Posted by :
สาละ ของเรา หายไป หนใด |
วัน/เวลา
:
27/5/2549 8:38:25 |
|
|
|
ไปเจอข้อมูล เอามาฝากแปะไว้ก่อน ...
พึ่งผ่านมาเจอ ขอทักท้วงสักอย่างหนึ่งนะครับ เรื่องต้นสาละที่แสดงในรูปข้างบนครับ รูปนี้เป็นดอกสาละลังกาครับ มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาไต้ ไม่ใช่ ต้นสาละที่พระพุทธเจ้าประสูตรหรือตรัสรู้ครับ ต้นในภาพชาวบ้านแถวลังกาเรียกต้นปืนใหญ่ก็มี เพราะลูกมันกลมเท่าลูกตระกร้อ เหมือนลูกปืนใหญ่ ออกดอกแทงช่อยาวออกมาตามลำต้น ตามกิ่ง อยู่ไกลๆ หอม เข้าใกล้ผมว่ากลิ่นมันแรงไป ยิ่งลูกมันหล่นแตกแล้วเหม็นเหมือนยาฆ่าแมลงครับ
ต้นนี้ปลูกกันทั่วไปตามวัดต่างๆ ในไทยตอนนี้ แพร่เร็วเพราะลูกนึงมีเมล์ดเยอะ เหมือนมะตูม เป็นไม้โตเร็วด้วย ผมเองก็เป็นห่วงอยู่ครับเพราะชาวพุทธเข้าใจผิดเอาไปปลูกตามวัดติดป้ายกันเยอะ เริ่มมาตั้งแต่สมัย พอ.ปิ่น มุทุกันต์ อธิบดีกรมการศาสนาสมัยเมื่อหลายสิบปีก่อนที่ดังมากๆ นำมาปลูก ที่เห็นๆก็ที่วัดสุทัศนนาราม จ.อุบล วัดที่ท่านเคยอาศัย ท่านนำมาปลูก ปัจจุบันก็ยังคงอยู่ เป็นต้นที่ใหญ่ มีอายุมากที่สุดในอีสาน ทราบว่าท่านเอามาปลูกที่กรุงเทพและอีกที่จำไม่ได้ รวม 3 ต้นครับ ก็เริ่มมีตั้งแต่นั้นมาหล่ะครับ
สาละที่พระพุทธเจ้าประสูตร ปรินิพพานนั้นไม่ใช่พันธุ์นี้ครับ แต่ผมไม่มีรูป ท่านใดมีจะอนุเคราะห์ช่วยเอามาลงก็ดีครับ
เรื่องต้นไม้นี่ชาวพุทธก็สับสนไปเรื่อยครับ อย่างต้นโพธิ์ ผมเห็นบางวัดติดป้ายต้นโพธิ์ศรี ซึ่งเป็นต้นโพธิ์อีกพันธุ์ที่มีหนาม มีลูกแดง มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ ว่าเป็นต้นโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้เฉยเลย ทั้งๆ ที่คนละต้นกัน
บางทีเรื่องเรื่องเล็กๆ น้อยๆก็ไม่ควรละเลยนะครับ
จากคุณ : ฟองล้นแก้ว - [ 22 พ.ค. 49 23:10:24 ] |
Posted by :
รีเบล |
วัน/เวลา
:
27/5/2549 15:50:26 |
|
|
|
อืม..
แบบนี้ต้องเรียกว่าความเข้าใจผิดที่สืบต่อกันมานาน ..ความเข้าใจความรู้ทั้งหลายที่เรารับฟังก็เปรียบเหมือนการได้ปลูกเมล็ดพันธุ์พืช มันก็จะเติบโตอยู่ในใจของเราเช่นนั้นและเรายังเอาไปแพร่พันธุ์ด้วยการบอกต่อๆไปอีก..
สาธุ ของอนุโมทนา..เรื่องเล็กๆน้อยๆก็ไม่ควรละเลย ทำไว้ดีแล้วดี ก็คือดีแล้วดีเลย |
Posted by :
ป่ามืด |
วัน/เวลา
:
27/5/2549 17:25:18 |
|
|
|
อยากเห็นดอกสาละแท้ๆในพุทธประวัติจังเลย ค้นได้ภาพลายเส้นของต่างประเทศก็คล้ายพยอมมากๆเป็นตระกูลเดียวกับพยอม คือดอกสีขาวอมเหลืองนวลบานสพรั่งมีกลิ่นหอม แต่ในประเทศไทยไม่มีการบันทึกภาพดอกไว้ มีแต่รูปฝักหรือเมล็ดที่มีสามปีกทำให้บางท่านเข้าใจผิดคิดว่าเป็นดอก ควรมีการค้นคว้าอย่างจริงจัง ทั้งที่เป็นพันธ์ไม้สำคัญมากๆ เรามาสนใจช่วยกันหากันดีไหม |
Posted by :
บวรรัตน์ |
วัน/เวลา
:
28/7/2552 22:25:33 |
|
|
|
สาธุ ขออนุโมทนาคุณบวรรัตน์ ที่นำภาพลายเส้นดอกสาละมาแบ่งปันให้ชมกัน ..
ช่วยกันหาค่ะ .. |
Posted by :
sara.. |
วัน/เวลา
:
31/7/2552 23:47:27 |
|
|
|
สาละ? โดยตัวเองแล้วเป็นต้นไม้ขนาดกลางถึง ใหญ่ไม่ผลัดใบ อยู่ในสกุล (Genus) ไม้สยา (Shorea) วงศ์ (Family) ไม้ยาง (Dipterocarpaceae) ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีเทา แตกเป็นร่องเป็นสะเก็ดทั่วไป เรือนยอดเป็นพุ่มทึบรูปเจดีย์หรือรูปไข่ เรือนพุ่มประมาณ 2/3 ของ ความสูงของต้น ปลายกิ่งห้อยลู่ลง ใบดกหนา กิ่งอ่อนเกลี้ยง ไม่มีขน ใบรูปไข่กว้าง โคนใบหยักเว้าเข้า ปลายใบหยักเป็นติ่งแหลมสั้น ๆ ผิวใบเป็นมันเกลี้ยง พื้นใบมักเป็นคลื่น รูปทรงทั่ว ๆ ไป คล้ายใบรังของไทย ดอกสีเหลืองอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อสั้น ๆ ตามปลายกิ่งและง่ามใบ กลีบดอกและกลีบรองกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ ผลแข็ง มีปีก 5 ปีก ในจำนวนนี้จะยาว 3 ปีก และสั้น 2 ปีก แต่ละปีกมีเส้นตามยาวปีก 10 ? 15 เส้น สาละเป็นไม้พื้นเดิมของอินเดีย มักขึ้นเป็นกลุ่ม ๆ ตามบริเวณที่ค่อนข้างจะชุ่มชื้น การขยายพันธุ์นิยมใช้เมล็ด เพาะหรือจะใช้การตอนกิ่งหรือทาบกิ่งก็ได้ แต่วิธีหลังเปอร์เซ็นต์การติดน้อยมาก ในประเทศไทยได้มีการ นำเอาต้นสาละหรือต้นซาลเข้ามาปลูกหลายครั้ง เท่าที่ทราบก็มีหลวงบุเรศบำรุงการนำมาถวายสมเด็จ พระมหาวีรวงษ์ วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน โดยทรงปลูกไว้ที่หน้าพระอุโบสถ 2 ต้น กับได้น้อมเกล้าถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2510 อีก 2 ต้น ในจำนวนนี้ได้ทรงปลูกไว้ในพระตำหนัก จิตรลดารโหฐาน 1 ต้น กับทรงมอบให้วิทยาลัยการเผยแพร่พระพุทธศาสนาที่อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรีอีก 1 ต้น อาจารย์เคี้ยน เอียดแก้ว และอาจารย์เฉลิม มหิทธิกุล ก็ได้นำต้นสาละมาปลูกไว้ในบริเวณคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ที่ค่ายพักนิสิตวนศาสตร์ สวนสักแม่หวด อำเภองาว จังหวัดลำปาง พระพุทธทาสภิกขุ ก็ได้ปลูกไว้ที่สวนโมกข์ อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และนายสวัสดิ์ นิชรัตน์ ผู้อำนวยการกองบำรุง ก็ได้นำปลูกไว้ในสวนพฤกษศาตร์พุแค จังหวัดสระบุรี ซึ่งต่างก็มีความเจริญงอกงามดี และคาดว่าคงจะให้ผล เพื่อขยายพันธุ์ไปตามสถานที่ต่าง ๆ ได้เพิ่มขึ้นในเวลาอันควร
ข้อมูลจากhttp://www.kammatan.com/board/index.php?topic=230.0 |
Posted by :
sara.. |
วัน/เวลา
:
1/8/2552 0:33:34 |
|
|
|
|
|
|
... |
Posted by :
sara.. |
วัน/เวลา
:
1/8/2552 1:46:58 |
|
|
|
|